"การเรียนครั้งที่5"
กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้


        การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่าย ๆครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ

     ●เกม (Games)
สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ

        "จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม"

2.1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
2.2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
2.3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
2.4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
2.5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
2.6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
        ●เกมการเล่น
1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ


       "แนวคิดการจัดเกม"

1.เกณฑ์การเลือกเกม
 1.1 ต้องพิจารณาว่าเกมนั้น ๆ จะส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
 1.2 เกมที่นำมาให้เด็กเล่นนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
 1.3เกมที่ดีจะต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
 1.4เกมที่ให้แด็กเล่นจะเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
1.5ช่วยเด็กให้เกิดมีทักษะด้านต่าง ๆ เช่นทักษะ การเคลื่อนไหว ทักษะการสังเกตทักษะการเรียบเทียบ
 1.6เกมที่เล่นนั้นควรจะเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
1.7เกมที่ดีต้องเป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
   4.1 เกมวงกลม
   4.2 เกมกลุ่มเด็กเล็ก
   4.3 การเล่นเป็นทีม


         (เกมการศึกษา)
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game)สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฏี (The Cognitive Theory of play) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี
"วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา"
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
 2.1 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
 2.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
 2.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
 2.4 เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 2.5 เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
 2.6 เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
      "ประเภทของเกมการศึกษา"
       1) เกมการจับคู่
(1) สิ่งที่เหมือนกัน
(2) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
(3) สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
(4) สิ่งที่ขาดหายไป
5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
6) เกมตารางสัมพันธ์
7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
8) เกมลอตโต
      "ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา"
เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอด นำความรู้ ประสบการณ์ด้านการเรียนสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน


1) ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
2) เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
3) มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
 4) เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที
5) เป็นเกมที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ร่าเริง และได้รับความรู้หรือทักษะ
6) เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
7) เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
8) เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบ่างตามสมควร
9) ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและการตัดสินใจให้คะแนน
10) ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่าย ๆ

       "ประโยชน์ของเกมการศึกษา"
เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ
   
       การเรียนในครั้งนี้นะคะได้เรียนในเรื่องของทฤษฏีเเละปฏิบัติค่ะการทำสื่อ


บรรยากาศภายในห้องเรียนค่ะ



การเรียนในครั้งนี้นะคะได้เรียนทั้งการทำสื่อการประดิษฐ์สื่อได้ใช้ทักษะเเละความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานมีการถามตอบภายในห้องเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานบรรยากาศภายในห้องเรียนเหมาะสมดีเอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ



☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆☆
















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้